cover ท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน…สำคัญไฉน

ท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน…สำคัญไฉน?

ท่อร้อยสายไฟฟ้าเป็นส่วนสำคัญในการติดตั้งระบบไฟฟ้า โดยมีหน้าที่ในการป้องกันสายไฟจากความเสียหายและช่วยให้การเดินสายไฟเป็นระเบียบ ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่นิยมใช้ในท้องตลาดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ ท่อโลหะ และ ท่ออโลหะ

1.1) ท่อโลหะ

ท่อโลหะ มักจะใช้ในงานที่ต้องการความแข็งแรงและการป้องกันสูงจากการกระแทกและสภาพแวดล้อม      ท่อโลหะที่นิยมใช้ในท้องตลาด

  • ท่อเหล็ก RSC (Rigid Steel Conduit): ท่อเหล็กที่มีความแข็งแรงสูง เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการกระแทกหรือแรงกดสูง
  • ท่อIMC (Intermediate Metal Conduit): ท่อโลหะที่บางกว่า RSC แต่ยังคงความแข็งแรง เหมาะสำหรับการใช้งานในอาคารพาณิชย์
  • ท่อ EMT (Electrical Metallic Tubing) : ท่อโลหะที่บางที่สุด มีความยืดหยุ่นมากกว่า เหมาะสำหรับงานติดตั้งภายในอาคาร

1.2) ท่ออโลหะ

ท่ออโลหะที่นำมาใช้ในงานติดตั้งเป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ทำหน้าที่ ช่วยป้องกันสายไฟจากสภาพแวดล้อมและอุบัติเหตุต่างๆได้ดีกว่าการติดตั้งสายไฟแบบฝังดินโดยตรง เป็นท่อที่แข็งแรง ป้องกันน้ำและความชื้นใต้ดิน ทนทานต่อสารเคมี ท่อฯ ช่วยป้องกันไม่ให้สายไฟถูกเจาะ ดึง กระแทก หรือกดทับโดยตรง ซึ่งอาจเกิดจากการทรุดตัวของชั้นดินได้ ท่ออโลหะที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

  • ท่อ HDPE (High-Density Polyethylene) : ท่อที่มีความทนทานต่อการกัดกร่อนและสารเคมีสูง เหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้งและในพื้นที่ที่มีสารเคมี
  • ท่อ PVC (Polyvinyl Chloride) : ท่อที่มีน้ำหนักเบาและติดตั้งง่าย มักใช้ในงานติดตั้งภายในบ้านหรืออาคาร
  • ท่อ RTRC (Reinforced Thermosetting Resin Conduit) : ท่อที่ผลิตจากเรซิ่นเสริมแรง ท่อที่มีความทนทานต่อการกัดกร่อนและสารเคมีสูง เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่ต้องการทนทานต่อสารเคมีและความร้อนสูง มีความแข็งแรงและความทนทานสูง

ท่อร้อยสายไฟฟ้าเหล่านี้มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ทำให้สามารถเลือกใช้ตามความต้องการของงานติดตั้งที่แตกต่างกัน

ทำไมท่ออโลหะจึงเป็นที่นิยมใช้เป็นท่อร้อยสายไฟใต้ดิน

  • ป้องกันการกัดกร่อน: ท่ออโลหะทำจากวัสดุที่ทนทานต่อการกัดกร่อน เช่น วัสดุ HDPE หรือ PVC หรือ RTRC ทำให้ท่อเหล่านี้ไม่เสียหายเมื่อสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีความกัดกร่อนทางเคมี หรือดินที่มีความชื้นสูง
  • ความแข็งแรงและทนทาน: ท่ออโลหะมีความแข็งแรงและทนทาน สามารถป้องกันสายไฟจากการถูกกระทบกระแทกหรือเสียหายในการรับน้ำหนักจากการขุดเจาะติดตั้งในพื้นที่ใต้ดิน
  • น้ำหนักเบาติดตั้งง่าย: ท่ออโลหะมีน้ำหนักเบาและสามารถติดตั้งได้ง่ายกว่า เช่น ท่อ RTRC ท่อ HDPE ซึ่งช่วยให้การทำงานสะดวกและรวดเร็ว
  • มีความเป็นฉนวนไฟฟ้า: ท่ออโลหะชนิด RTRC ไม่เกิดการหลอมละลายของเคเบิ้ลขณะใช้งาน (No cable fusion)
  • มีค่าสัมประสิทธิ์ในการขยายตัวต่ำเมื่อได้รับความร้อน (Low coefficient of Thermal Expansion) ท่ออโลหะชนิด PVC และ RTRC มีการขยายตัวและหดตัวต่ำเมื่อได้รับความร้อน

ท่ออโลหะเหมาะกับงานติดตั้งเป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าอย่างไร

ตาม NEC Electrical Code 347 and Code 355 กำหนดให้ใช้ ท่ออโลหะชนิดหนา (Rigid Non Metallic conduit) ใช้เป็นท่อร้อยสายไฟติดตั้งแบบใต้ดินไว้ 3 ชนิด 

1. Rigid Nonmetallic Conduit (DITR)

Rigid Nonmetallic Schedule 40 and Schedule 80 PVC Conduit (DITR) Type A หรือ Type EB

  • PVC Schedule 40: เหมาะสำหรับการติดตั้งภายในอาคาร หรือในพื้นที่ที่ไม่ต้องการความแข็งแรงสูง
  • PVC Schedule 80: มีผนังหนากว่าทำให้มีความทนทานสูงหรือต้องการป้องกันจากการกระแทก เหมาะสำหรับการการติดตั้งภายนอกอาคารการติดตั้งท่อฝังในดินโดยตรง โดยไม่ต้องหุ้มในคอนกรีต

การเชื่อมต่อ:โดยใช้กาวประเภทตัวทำละลายที่ได้รับการรับรอง

2. Rigid Nonmetallic Underground Conduit, Plastic (EAZY)

Rigid Nonmetallic Underground Conduit, Plastic (EAZY) ท่อที่ผลิตจากวัสดุ โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) Schedule 40: ใช้สำหรับการฝังในดินหรือการติดตั้งหุ้มคอนกรีต โดยท่อต้องมีความทนทานต่อความชื้นและสารกัดกร่อน และต้องมีความแข็งแรงพอที่จะทนต่อการใช้งานหนัก เช่น การกระแทกและการกดทับ

การเชื่อมต่อโดยใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อท่อ หรือ แผ่นความร้อนหลอมปลายท่อที่อุณหภูมิคงที่

3. Rigid Nonmetallic Fiberglass Conduit (DZKT)

Rigid Nonmetallic Fiberglass Conduit (DZKT) คือ ท่อที่ทำจากวัสดุคอมโพสิท คือ ท่ออีพ็อกซี่เรซิ่นเสริมแรงด้วยใยแก้ว RTRC (Reinforced Thermosetting Resin Conduit) จัดเป็นวัสดุที่มีความทนทานต่อสารเคมีและอุณหภูมิสูง สามารถใช้ในการติดตั้งท่อได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร รวมถึงการฝังในดินโดยตรงหรือหุ้มคอนกรีต 

ปัจจุบัน ท่อประเภท RTRC ผลิตและทดสอบตาม NEMA TC 14 และได้รับ มอก. 2518-2557 (ท่ออีพ็อกซี่เรซิ่นเสริมใยแก้วสำหรับใช้ร้อยสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์) ได้เข้ามามีบทบาทและใช้ในงานติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินอย่างแพร่หลายด้วยคุณสมบัติเด่นหลายด้านที่เหมาะสมกับการใช้งานในโครงการสาธารณูปโภคทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะงานก่อสร้างบ่อพักและติดตั้งท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดินตาม มาตรฐานการไฟฟ้านครหลวง ด้วยคุณสมบัติเด่น ๆ ทั้งในด้าน Physical and Mechanical properties ที่นอกเหนือจากน้ำหนักเบากว่าท่อร้อยสายชนิดอื่น ในเรื่อง 

  • การทนแรงกดแรงอัดได้สูง (High Specific Compressive and Impact strength)
  • ไม่เป็นสนิมทนการกัดกร่อนทนสารเคมีได้ดี
  • ไม่แผ่สารพิษ (Non-Toxic) เนื่องจากผลิตจากวัสดุที่ไม่ลามไฟและไม่แผ่สารพิษประเภทฮาโลเจน (Halogen) ออกมา
  • เป็นฉนวนไฟฟ้ากระจายความร้อนได้ดีในกรณีที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร จะไม่เกิดการหลอมละลายของวัสดุท่อติดกับวัสดุสายไฟฟ้า (No cable fusion) ทำให้สามารถดึงสายไฟฟ้ามาเปลี่ยนหรือซ่อมได้
  • ค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานต่ำ (Low coefficient of friction) เพราะผิวภายในเรียบมาก เท่ากับ 385 ทำให้ง่ายต่อการดึงสายเคเบิ้ลได้ยาวและง่าย และลดปัญหาเคเบิ้ลฉีกขาดระหว่างลากสาย 
  • ค่าสัมประสิทธิ์ในการขยายตัวต่ำเมื่อได้รับความร้อนจึงเหมาะกับการติดตั้งเหนือดิน หรือ เดินท่อเกาะตามราวสะพาน
  • ทนอุณหภูมิใต้ดินได้สูงโดยไม่เสียรูป
  • ออกแบบให้ประกอบท่อง่าย (Easy assembling): 3 easy step โดยนำปลายด้านตรงสวม (Spigot end) อัดเข้ากับท่อด้านปากระฆัง (Bell end) ที่มี Gasket และ Retainer ring ช่วยยึดให้ท่อประกอบเข้าหากันแน่นและกันน้ำได้ดี

ท่อ RTRC เหมาะสมกับการติดตั้งแบบไหนบ้าง

RTRC เป็นท่อร้อยสายไฟฟ้าที่ติดตั้งตามมาตรฐานสากลและมาตรฐานการไฟฟ้านครหลวงซึ่งแบ่งการติดตั้งเป็น 2 แบบคือ 

  1. การติดตั้งใต้ดิน(Underground Installation) ตามมาตรฐานของการไฟฟ้านครหลวงแบ่งการติดตั้งใต้ดินเป็น 
  • การติดตั้งหุ้มคอนกรีตแบบOpen cut และ Pipe Jacking
  • การติดตั้งแบบฝังดินกลบทราย(Direct burial installation)
  1. การติดตั้งเหนือดิน(Above ground Installation)

ด้วยคุณสมบัติข้างต้น ท่อ RTRC จึงเข้ามามีบทบาทแทนท่ออโลหะชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะในการใช้งาน

ที่ต้องการความทนทานสูงและความปลอดภัยทางไฟฟ้าที่มากขึ้น

การติดตั้งแบบหุ้มคอนกรีต

การติดตั้งแบบฝั่งดินกลบทราย

การติดตั้งแบบเหนือดิน

Comments are closed.