สนิม คือส่วนที่โลหะมีการเปลี่ยนสภาพไปจากเดิมเนื่องจากได้รับปฏิกิริยาเคมีที่มีอากาศ น้ำ หรือความร้อน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คุณสมบัติของรางวางสายไฟโลหะเปลี่ยน และแตกต่างไปจากเดิม เช่น รางวางสายไฟเป็นสนิม สีเปลี่ยนไป ความแข็งแรงของโลหะลดลง ทำให้เกิดการผุกร่อน เป็นต้น
ปัญหาการเกิดสนิมบริเวณรางวางสายไฟ (Cable ladder)
ปัญหาการเกิดสนิมบริเวณรางวางสายไฟ (Cable ladder) ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเรื่องที่ยากจะควบคุม เนื่องจากขั้นตอนในกระบวนการผลิตที่ต้องทำงานผ่านสารเคมี ความร้อน ความชื้น หรือความเย็น และมีการสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ สถานที่ตั้ง และสภาพแวดล้อมโดยรอบโรงงานก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รางเป็นสนิม เช่น โรงงานเคมี โรงงานอาหาร โรงงานตามชายฝั่งทะเล หรือ โรงปิโตรเคมี เป็นต้น ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจที่เหมาะสมกับการบำรุงรักษาและป้องกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ สามารถป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางด้านค่าใช้จ่าย การสูญเสียวัสดุ การสูญเสียเวลาทำงาน และนับเป็นการป้องกันการบำรุงรักษา (Maintenance Preventive) ซึ่งเป็นผลดีแก่โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง
ปัญหาการเกิดสนิมบริเวณรางวางสายไฟ (Cable ladder) ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเรื่องที่ยากจะควบคุม เนื่องจากขั้นตอนในกระบวนการผลิตที่ต้องทำงานผ่านสารเคมี ความร้อน ความชื้น หรือความเย็น และมีการสัมผัสกับออกซิเจนในอากาศ สถานที่ตั้ง และสภาพแวดล้อมโดยรอบโรงงานก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รางเป็นสนิม เช่น โรงงานเคมี โรงงานอาหาร โรงงานตามชายฝั่งทะเล หรือ โรงปิโตรเคมี เป็นต้น ดังนั้น การมีความรู้ความเข้าใจที่เหมาะสมกับการบำรุงรักษาและป้องกันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ สามารถป้องกันความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นทั้งทางด้านค่าใช้จ่าย การสูญเสียวัสดุ การสูญเสียเวลาทำงาน และนับเป็นการป้องกันการบำรุงรักษา (Maintenance Preventive) ซึ่งเป็นผลดีแก่โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่นและต่อเนื่อง
แนวทางการป้องกันรางวางสายไฟเป็นสนิม
แนวทางการดูแลป้องกันการกัดกร่อนและรางวางสายไฟเป็นสนิม สามารถทำได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุรางวางสายไฟ ปัจจัยแวดล้อมและพื้นที่การดำเนินงานโดยในเบื้องต้นมีวิธีการ ดังนี้
แนวทางการป้องกัน
รางวางสายไฟเป็นสนิม
- การเคลือบผิวเหล็ก (Coating) เพื่อป้องกันมิให้เนื้อเหล็กสัมผัสกับน้ำ และอากาศโดยตรง โดยทั่วไปมีหลายวิธี เช่น เคลือบผิวด้วยโลหะ การเคลือบผิวด้วยพลาสติก หรือการเคลือบผิวด้วยไฟเบอร์กลาส เป็นต้น การเคลือบวิธีนี้สามารถป้องกันได้ทั้งความเสียหายเชิงกลและการกัดกร่อน อย่างไรก็ตาม ผิวเคลือบด้วยวิธีนี้ หากเตรียมผิวชิ้นงานไม่ดี อาจทำให้ผิวเคลือบหลุดออกได้ง่าย ทำให้เนื้อเหล็กมีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศและมีโอกาสที่รางวางสายไฟจะเกิดสนิมขึ้นได้อีก
- การใช้เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) เป็นการเลือกใช้โลหะที่มีความทนทานต่อการเกิดสนิม แต่ในกรณีที่ชิ้นงานต้องสัมผัสน้ำทะเล กรด ด่าง หรือไอระเหยของสารเคมี ตลอดเวลาอาจจะทำให้รางเกิดสนิมขึ้นได้อีก
- การเลือกใช้วัสดุที่ไม่เกิดสนิม เช่น ไม้ พลาสติก เป็นอีกวัสดุทางเลือกที่สามารถใช้เป็นวัสดุทดแทนเหล็กได้ แต่ทั้งไม้และพลาสติกอาจไม่เหมาะกับงานบางประเภทเนื่องจากมีความเปราะ แข็งแรงตํ่า
- การเลือกใช้วัสดุโพลีเอสเตอร์เสริมแรงด้วยไฟเบอร์กลาส (FRP) ซึ่งเป็นวัสดุทางเลือกอีกประเภทที่ออกแบบมาให้มีคุณสมบัติในการต้านทานการกัดกร่อน ป้องกันรางเกิดสนิม ที่มีน้ำหนักเบา
วัสดุทางเลือก รางไฟเบอร์กลาส เบา ไม่เป็นสนิม ติดตั้งง่าย
รางวางสายไฟที่ทำจากไฟเบอร์กลาส (FRP) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่น่าจะตอบโจทย์การใช้งานได้ดี โดยเฉพาะในจุดที่มีการกัดกร่อน หรือมีโอกาสเกิดสนิม เช่น บริเวณชายทะเล ในไลน์การผลิตที่มีไอสารเคมี หรือ บริเวณที่มีความชื้น เป็นต้น รางวางสายไฟเบอร์กลาสนอกจากจะทนต่อการกัดกร่อนแล้ว ยังมีความแข็งแรง น้ำหนักที่เบา และความเป็นฉนวนไฟฟ้า ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในงานซ่อมบำรุง ด้วยคุณสมบัติดังนี้ทำให้รางวางสายไฟจากไฟเบอร์กลาส เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งในอุตสาหกรรม
แนวทางการดูแลป้องกันการกัดกร่อนและรางวางสายไฟเป็นสนิม สามารถทำได้หลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของวัสดุรางวางสายไฟ ปัจจัยแวดล้อมและพื้นที่การดำเนินงานโดยในเบื้องต้นมีวิธีการ ดังนี้
- การเคลือบผิวเหล็ก (Coating) เพื่อป้องกันมิให้เนื้อเหล็กสัมผัสกับน้ำ และอากาศโดยตรง โดยทั่วไปมีหลายวิธี เช่น เคลือบผิวด้วยโลหะ การเคลือบผิวด้วยพลาสติก หรือการเคลือบผิวด้วยไฟเบอร์กลาส เป็นต้น การเคลือบวิธีนี้สามารถป้องกันได้ทั้งความเสียหายเชิงกลและการกัดกร่อน อย่างไรก็ตาม ผิวเคลือบด้วยวิธีนี้ หากเตรียมผิวชิ้นงานไม่ดี อาจทำให้ผิวเคลือบหลุดออกได้ง่าย ทำให้เนื้อเหล็กมีโอกาสสัมผัสกับบรรยากาศและมีโอกาสที่รางวางสายไฟจะเกิดสนิมขึ้นได้อีก
- การใช้เหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steel) เป็นการเลือกใช้โลหะที่มีความทนทานต่อการเกิดสนิม แต่ในกรณีที่ชิ้นงานต้องสัมผัสน้ำทะเล กรด ด่าง หรือไอระเหยของสารเคมี ตลอดเวลาอาจจะทำให้รางเกิดสนิมขึ้นได้อีก
- การเลือกใช้วัสดุที่ไม่เกิดสนิม เช่น ไม้ พลาสติก เป็นอีกวัสดุทางเลือกที่สามารถใช้เป็นวัสดุทดแทนเหล็กได้ แต่ทั้งไม้และพลาสติกอาจไม่เหมาะกับงานบางประเภทเนื่องจากมีความเปราะ แข็งแรงตํ่า
- การเลือกใช้วัสดุโพลีเอสเตอร์เสริมแรงด้วยไฟเบอร์กลาส (FRP) ซึ่งเป็นวัสดุทางเลือกอีกประเภทที่ออกแบบมาให้มีคุณสมบัติในการต้านทานการกัดกร่อน ป้องกันรางเกิดสนิม ที่มีน้ำหนักเบา
วัสดุทางเลือก
รางไฟเบอร์กลาส เบา
ไม่เป็นสนิม ติดตั้งง่าย
รางวางสายไฟที่ทำจากไฟเบอร์กลาส (FRP) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่น่าจะตอบโจทย์การใช้งานได้ดี โดยเฉพาะในจุดที่มีการกัดกร่อน หรือมีโอกาสเกิดสนิม เช่น บริเวณชายทะเล ในไลน์การผลิตที่มีไอสารเคมี หรือ บริเวณที่มีความชื้น เป็นต้น รางวางสายไฟเบอร์กลาส นอกจากจะทนต่อการกัดกร่อนแล้ว ยังมีความแข็งแรง น้ำหนักที่เบา และความเป็นฉนวนไฟฟ้า ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในงานซ่อมบำรุง ด้วยคุณสมบัติดังนี้ทำให้รางวางสายไฟจากไฟเบอร์กลาส เป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งในอุตสาหกรรม