cover รางสายไฟฟ้า (Cable LadderCable Tray) 5-27-2024

รางสายไฟฟ้า (Cable Ladder/Cable Tray)

       ในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เวลาเดินสายไฟฟ้าทั้ง Power Cable และ Control Cable แม้กระทั้งสายของ Instrument เองจำเป็นต้องเดินสายไฟฟ้าบน “รางสายไฟฟ้า (Cable Ladder) หรือที่หลายๆคนพูดติดปากว่า Cable Tray”

Cable Ladder / Cable Tray?

        Cable Ladder และ Cable Tray คือ อุปกรณ์ที่ถูกติดตั้งไว้ลำเลี้ยงสายไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น วาง Cable Ladder จาก MCC switchgear ใน Substation ไปยัง Load ที่เป็น Motor ที่อยู่ด้านนอก เป็นต้น

        ซึ่งการลำเลี้ยงสายไฟฟ้านี้นั้นสามารถทำได้ทั้งงานของ Electrical เองที่เป็นสาย Power Cable และ Control Cable รวมไปถึงของ Instrument ที่มีทั้งสาย Power และ Signal Cable

ทำไมต้องมี Cable Ladder / Cable Tray

        การที่เราติดตั้งระบบ Cable Ladder หรือ Cable Tray ไปนั้นจะทำให้เกิดการจัดสายไฟฟ้าได้อย่างเป็นระเบียบ และปฏิเสธไม่ได้ในเรื่องของความสวยงาม รวมถึงช่วยในเรื่องของการจัดกลุ่มของสายไฟฟ้า เช่น รางสายไฟฟ้าสำหรับ Low Voltage Level และ Medium Voltage Level แต่นอกจากความเป็นระเบียบและสวยงามแล้ว สิ่งสำคัญที่ Cable Ladder หรือ Cable Tray นั้นมาช่วยก็คือ การลดความเสี่ยงจากการ Induce ต่างๆ จากสาย Power Cable ไปยังพวก Control Cable หรือ Signal Cable ที่จะทำให้นายช่าง ทั้งหลายต้องปวดหัวว่าสัญญาณที่ไม่ต้องการนี้มาได้อย่างไร

        ดังนั้นการติดตั้งรางวางสายไฟฟ้านั้นจำเป็นต้องแยกระหว่างสายของ Electrical และ Instrument และในสายของ Electrical ก็ควรแยก Power Cable และ Control Cable ออกจากกัน

การวางสายไฟฟ้ากับ Cable Ladder และ Cable Tray ที่จะนิยมแยกรางสายไฟฟ้าระหว่างสายในแต่ละชนิด

ชนิดของรางสายไฟฟ้า (Cable Ladder/Cable Tray)

ในท้องตลาด และที่ใช้ในอุตสาหกรรมของประเทศไทยนั้น สามารถแบ่งออกใหญ่ๆ ได้ทั้งหมด 3 ชนิด

  1. ชนิดของพลาสติก ที่ใช้ทั่วไปในบ้านเรือนและอุตสาหกรรม ซึ่งจะราคาถูก หาซื้อได้ง่าย แต่ในเรื่องของการรับแรงนั้นอาจจะไม่แข็งแรงเท่าที่ควร และอายุการใช้งานจะลดลงถ้านำเอาไปใช้ในบริเวณ Outdoor ซึ่งประเภทนี้เหมาะกับงานประเภท Indoor มากกว่า รวมถึงมีโอกาสเสียหายได้กรณีที่โดนพวกสารเคมีกัดได้

2. ชนิดของเหล็กที่ชุบกันสนิม (Hot-Dip Galvanized) หรือจำพวก Aluminum และ Stainless steel

ประเภทนี้สามารถหาได้ทั่วไปตามท้องตลาด แต่ต้องมีการติดตั้งสาย Ground link ระหว่างรางวางสายไฟฟ้า รวมถึงตามจุดต่อของรางสายไฟฟ้า และชนิดที่เป็นเหล็กชุบสนิมที่ถูกติดตั้งแบบ Outdoor นั้น เมื่อใช้ไปนานๆ ก็จะเริ่มมีการเกิดสนิมให้เห็นบ้าง

3. ชนิด FRP (Fiberglass Reinforced Polyester Resin) ที่ทำมาจากคอมโพสิท (Composite) นั้นจะมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นจากชนิดแรกที่สามารถกันสนิมได้ และตัวรางสายไฟฟ้านั้นเป็นฉนวนและไม่นำไฟฟ้าอยู่แล้ว ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องติดตั้ง Ground bonding ระหว่างรางไฟฟ้า

รูปแบบของรางสายไฟฟ้า (Cable Ladder/Cable Tray)

        รูปแบบสำหรับการติดตั้งรางสายไฟฟ้านั้นมีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น Straight Cable Ladder, Horizontal Fitting, Vertical Inside Fitting, Vertical Outside Fitting, Horizontal Tee Fitting และ Horizontal Cross Fitting เป็นต้น ตามรูปด้านล่างนี้

จะเห็นได้ว่ารางสายไฟฟ้า มีหลายรูปแบบ ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุชนิดใด จึงขึ้นอยู่กับคุณสมบัติที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ได้รางวางสายไฟฟ้าที่ คุ้มค่า คุ้มราคา

สนใจรางวางสายไฟฟ้า ต้านทานการกัดกร่อน น้ำหนักเบา แข็งแรง ทนทาน ไม่ติดไฟ

ไม่นำไฟฟ้าและมีคุณสมบัติต้านทานไฟฟ้าได้ดีเยี่ยม

สามารถติดต่อทาง GRE Composite Co.,Ltd ได้ตามช่องทางด้านล่างได้เลยนะคะ

Comments are closed.