cover ท่อ Fiberglass กับการใช้งานในระบบดับเพลิง

ท่อ Fiberglass กับการใช้งานในระบบดับเพลิง

        ในโรงงานอุตสาหกรรม ในกลุ่มอุตสาหกรรมทั่วๆไป อุตสาหกรรมกระดาษและปูนซีเมนต์ และกลุ่มงานปิโตรเคมี ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้สูง เนื่องจากในกระบวนการผลิตมีสารที่มีความสามารถติดไฟ หรือเกิดการระเบิดสูงมาก ถ้าเราได้มีโอกาสได้รับการอบรมด้านความปลอดภัย รวมถึงเหตุการณ์ในอดีตจากเคสต่างๆ จะพบว่าการเกิดเหตุเพลิงไหม้ในแต่ละครั้ง จะมีความเสียหายมหาศาล และแทบจะประเมินมูลค่าไม่ได้เลย เพราะเป็นทั้งทรัพย์สินหลายล้านบาท ชีวิตของผู้คน หรือแม้กระทั่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ

แม้ว่าโรงงานจะมีมาตรการป้องกันเหตุการณ์และอุบัติเหตุต่างๆไม่ให้เกิดขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าก็ยังมีความผิดพลาดอย่างเช่น ความผิดพลาดของคนทำงาน (Human error) หรืออาจจะเป็น ความผิดพลาดจากระบบรักษาความปลอดภัย (System error) ก็ยังมีให้เห็นเรื่อยๆ ในต่างประเทศจะมีคำว่า “Hand of God” ถ้าในไทยอาจเรียกว่า ความซวย ก็ได้ ถึงแม้จะมีระบบป้องกันการเกิด Case ต่างๆ ในโรงงานทุกๆที่ จะมีระบบที่เรียกว่า Emergency response เช่น Gas detector, Fire detector, Automatic water spray, Foam injection และอื่นๆอีกมากมาย

แต่ระบบการป้องกันสุดท้ายที่สำคัญมากๆ คือ ระบบดับเพลิง หรือ Fire fighting system ซึ่งในบทความนี้จะขอไปดูอีกเทคโนโลยีน่าสนใจ นั่นคือ ท่อดับเพลิงที่ทำมาจากวัสดุ Fibreglass-Reinforced Plastic (FRP) ที่มีจุดเด่น คือ ไม่มีสภาวะกัดกร่อน (Non-Corrosive) จึงทำให้ตะกรันเกิดขึ้นน้อยกว่าใช้ท่อเหล็กดำ ป้องกันการลามติดไฟ ขณะที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปดูกันค่ะ

ส่วนประกอบของระบบน้ำดับเพลิง (Fire water system) 

1) แหล่งเก็บน้ำดับเพลิง (Fire water source)

ทำหน้าที่ในการกักเก็บน้ำให้มีปริมาณที่เพียงพอต่อการระงับเหตุเพลิงไหม้ในพื้นที่โรงงาน ซึ่งในแต่ละโรงงานจะมีการออกแบบ “แหล่งเก็บน้ำดับเพลิง” ที่แตกต่างกัน เช่น เก็บน้ำดับเพลิงในอ่างขนาดใหญ่ (Fire water pond) อันนี้โรงงานจะขุดบ่อขนาดใหญ่ อาจเป็นคอนกรีต หรืออาจจะใช้ผ้าใบพิเศษคลุมลงบ่ออีกทีเพื่อไม่ให้น้ำดับเพลิงซึมลงดิน บางโรงงานพื้นที่น้อย ก็จะออกแบบเป็นลักษณะของถังเก็บน้ำ (Fire water tank) เป็นต้น

2) แหล่งน้ำเติม (Make up water)

ในส่วนนี้คือน้ำที่จะเข้ามาเติม Fire water Pond/Tank ในกรณีระดับน้ำ (Level) ลดลงเพื่อให้ระดับน้ำคงที่ และเต็มตลอดเวลา เพื่อการันตีว่าน้ำจะไม่หมดขณะใช้งาน ขณะที่ทำการใช้น้ำดับเพลิงระงับเหตุเพลิงไหม้ ในส่วนของน้ำ make up water นี้ สามารถใช้จากภายในโรงงาน หรือ ภายนอกโรงงงานจากการซื้อน้ำเข้ามาเติมทางผ่านทางท่อส่งน้ำของโรงงานที่ขายน้ำให้นั่นเอง

3) ปั้มดับเพลิง (Fire water pump) 

ปั้มดับเพลิง หรือ Fire pump เป็นปั้มที่ทำหน้าที่สูบน้ำดับเพลิงจากแหล่งเก็บน้ำดับเพลิง และทำการเพิ่มความดันและอัตราการไหล ส่งผ่านเข้าท่อเฮดเดอร์หลัก แล้วส่งผ่านน้ำดับเพลิงไปใช้ทั่วโรงงาน หรือจุดที่เกิดเหตุนั่นเอง โดยปั้มดับเพลิงจะเป็นปั้มที่มีขนาดใหญ่เพื่อที่จะมีกำลังส่งน้ำเป็นระยะทางไกลๆได้ และต้องมีอัตราการไหลเพียงพอต่อการดับเพลิงที่เพียงพอต่อเหตุเพลิงไหม้ต่ออุปกรณ์นั่นๆด้วย ซึ่งบริษัทประกันภัยโรงงานจะทำการตรวจสอบในด้านของประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดเพื่อระงับเหตุเพลิงไหม้ต่อโรงงานและอาคารต่างๆนั่นเอง

4) ท่อน้ำดับเพลิง (Fire water pipe)

ท่อน้ำดับเพลิง (Fire water pipe) ในส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการ “ขนถ่ายและลำเลียงน้ำดับเพลิงไปยังจุดที่เกิดเหตุดับเพลิง หรืออุปกรณ์ดับเพลิงต่างๆ” ไม่ว่าจะเป็น Spray หรือ หัวฉีดดับเพลิงทั่วโรงงาน (Hydrant nozzle) โดยการสังเกตุง่ายๆ คือ ท่อดับเพลิงจะทาสีแดงเท่านั้น ดังนั้น ต้องมีการดูแลสม่ำเสมอ เพราะถ้าท่อแตก หรือเกิดความเสียหายขึ้นมาแล้วก็จะทำให้แรงดันน้ำตก และไม่สามารถส่งน้ำไปใช้ดับเพลิงขณะเกิดเหตุขึ้นได้นั่นเอง

ภาพตัวอย่างของ ท่อดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิง
ระบบ Fire water system จาก Fire fighting curse  ของ AMJ engineering

เทคโนโลยีท่อดับเพลิงด้วยวัสดุ FRP

ระบบดับเพลิง หรือ Fire fighting system ในโรงงานส่วนมากจะเป็นระบบที่ออกแบบให้สามารถ “ใช้น้ำดิบ (Raw water)” ซึ่งน้ำดิบนั่นแร่ธาตุจะเยอะ และแม้ว่าจะอัดน้ำเต็มตลอดเวลา แต่เมื่อไม่ได้ใช้เป็นเวลานาน น้ำที่อยู่นิ่งในท่อ (Stagnant) จะมีโอกาสเกิดการกัดกร่อนสูงมาก ซึ่งอุปกรณ์หลักของระบบดับเพลิง ได้แก่ ถังเก็บน้ำดับเพลิง (Fire Water Tank)  และท่อดับเพลิง

โดยปกติวัสดุของท่อน้ำดับเพลิงมักจะใช้เป็นวัสดุเป็น “เหล็กกล้า (Carbon steel)” และทำการเคลือบด้านในด้วยวิธีการ “Lining” ด้วยวัสดุ Polymer , Vinyl ester และอื่นๆ) ซึ่งท่อดับเพลิงแบบ Carbon steel with Lining ก็ยังมีจุดอ่อนในบางจุด ซึ่งวันนี้GREจะขอแนะนำอีกเทคโนโลยีวัสดุ Fibreglass Reinfored Plastic หรือ FRP ว่ามีข้อได้เปรียบในจุดไหนบ้างกันค่ะ

ข้อดีของวัสดุ FRP เมื่อเปรียบเทียบกับ Carbon steel with Lining 

  • วัสดุ FRP สามารถทนกับปัญหา Corrosion ของน้ำดับเพลิงได้มากกว่าหยุดการกัดกร่อนภายในท่อที่เกิดจากน้ำ สารตกค้าง และแบคทีเรีย และทนต่อการกัดกร่อนที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกได้ดี
  • วัสดุ FRP มีน้ำหนักเบากว่าเหล็ก ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ในส่วนของต้นทุนเสา Support ค้ำยัน มีต้นทุนต่ำกว่าใช้เหล็ก Carbon steel ที่ขนาดท่อเดียวกัน
  • วัสดุ FRP สามารถออกแบบให้ทนแรงดันสูงๆได้
  • วัสดุ FRP ทำให้ตะกรันเกิดขึ้นน้อยกว่า จึงเกิดสนิมและเศษตะกอนในระบบที่น้อยกว่า ลดโอกาสการบำรุงรักษา ไม่จำเป็นเคลือบสารป้องกันสนิมภายนอกและภายในท่อด้านในซ้ำ
  • FRP มีค่านำความร้อนต่ำ ประมาณ 1% เมื่อเทียบกับท่อเหล็ก
  • วัสดุ FRP สามารถเพิ่มสารหน่วงการติดไฟ เพื่อป้องกันการลามของไฟได้

        มีคำกล่าวว่า Ten robberies cause less damage than one fire ดังนั้นการให้ความสำคัญ และเคร่งครัดกับมาตรการรักษาความปลอดภัยงานดับเพลิง การคัดเลือกวัสดุ การคัดสรรระบบ Fire water protection  เป็นเรื่องที่ทุกโรงงานต้องให้ความเอาใจใส่ เพราะบางครั้ง ไม่ใช่แค่ทรัพย์สินโรงงานใด โรงงานหนึ่ง แต่หลายครั้ง ที่บ้านเรือนประชาชนใกล้เคียงพลอยเดือนร้อน วอดวาย ไร้บ้านไปด้วย 

ถ้าหากเพื่อนๆสนใจท่อดับเพลิง FRP ที่จะสามารถมาแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ หรือพัฒนาขีดความสามารถของระบบดับเพลิง Fire fighting system ของเพื่อนๆ ก็สามารถ

สามารถติดต่อทาง GRE Composite Co.,Ltd ได้ตามช่องทางด้านล่างได้เลยนะคะ

Comments are closed.