อันตรายจากกระแสไฟรั่ว ผ่านรางวางสายไฟ ทั้งๆที่ต่อกราวด์ จะมีความรุนแรงของไฟฟ้าดูด หรือไฟช็อต มากน้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนโวลท์ (voltage) และแอมแปร์ (amperage) ของกระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าสู่ร่างกาย การสูญเสียชีวิตหรืออวัยวะของผู้ปฎิบัติงานส่วนใหญ่จะเกิดจากการสัมผัสถูกไฟฟ้าแรงสูงชนิด high voltage ซึ่งบ่อยครั้งเกิดจากการละเลยเรื่องของสนิมที่เกิดบนรางวางสายไฟ จนทำให้รางผุพัง หรือเกิดสนิมบริเวณสาย กราวด์จนทำให้สายกราวด์ขาด ดังนั้นเราควรหมั่นดูแลรักษาอุปกรณ์ที่อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟรั่วหรือไฟช็อตด้วยความละเอียดรอบคอบ เพื่อป้องกันการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น
ขอยกตัวอย่างที่เราอาจมองข้ามเช่น รางวางสายไฟ (Cable Tray) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการเดินสายไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรมและอาคาร มีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเดินระบบสายไฟฟ้าที่ซึ่งคาดว่าจะมีการเปลี่ยนสายไฟฟ้าใหม่หรือเพิ่มสายใหม่ในอนาคต สามารถติดตั้งได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถวางสายไฟฟ้าได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งสามารถระบายอากาศได้ดี
รางวางสายไฟแบบต่อกราวด์ และไม่ต่อกราวด์
รางวางสายไฟ (Cable Tray) มีทั้งแบบที่ทำจากวัสดุโลหะ (hot-dip galvanized, อลูมิเนียม, สแตนเลส) และที่ทำจากวัสดุอโลหะ (Plastic, FRP, ไม้) หากโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารใด เลือกใช้รางวางสายไฟที่ทำจากวัสดุโลหะ (hot-dip galvanized, อลูมิเนียม, สแตนเลส) ตามมาตรฐานของ วสท.กำหนดว่าจะต้องมีการต่อกราวด์ที่รางวางสายไฟ แต่ถ้าโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารใดเลือกใช้รางวางสายไฟที่ทำจากวัสดุอโลหะ (Plastic, FRP, ไม้) วัสดุนั้นจะต้องเป็นวัสดุที่ต้านเปลวเพลิง ส่วนข้อดีของรางอโลหะคือมีความเป็นฉนวนในตัวและทนต่อสภาวะกัดกร่อนได้ดี ก็ไม่จำเป็นต้องมีการต่อกราวด์
การต่อกราวด์ที่รางวางสายไฟโลหะนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะคือความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน การต่อกราวด์ที่รางวางสายไฟจะต้องต่อสายกราวด์ต่อเนื่องไปตลอดแนวรางวางสายเพื่อให้ส่วนของโลหะต่อถึงกันตลอด มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์เพื่อป้องกันไฟดูด ผู้ปฏิบัติงานควรหมั่นสังเกตและตรวจสอบสายกราวด์ที่ต่อไว้อย่างสม่ำเสมอว่าเป็นสนิมหรือขาดออกจากกันหรือไม่ โดยเฉพาะทุกจุดที่มีการต่อสายกราวด์ไว้ ในกรณีที่สายกราวด์มีปัญหาดังกล่าวเมื่อมีกระแสไฟรั่วลงโครงโลหะจะเกิดความเสี่ยงต่อผู้ปฎิบัติงาน อาจถูกไฟดูดและมีอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นควรหมั่นดูแลระบบให้ดีอยู่เสมอและให้ความสำคัญบริเวณที่มีการติดตั้งรางวางสายไฟบริเวณภายนอกอาคารหรือบริเวณที่มีการกัดกร่อนสูงเช่น cooling tower, chemical plant ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวได้
การป้องกันไฟรั่ว โดยไม่ต้องต่อกราวด์
ที่ใดที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้า ที่นั้นก็จะต้องมีการเดินสายไฟไปหา วิธีเดินสายไฟที่นิยมใช้ในโรงงานคือเดินสายไฟไปบนรางวางสายไฟ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าจำนวนสายไฟที่ต้องเดินนั้นมีจำนวนมากจึงน้ำหนักมาก, ต้องติดตั้งในพื้นที่ภายนอกอาคาร และต้องเข้าถึงได้ง่ายในการบำรุงรักษา
รางวางสายไฟ (Cable Tray) มีทั้งแบบที่ทำจากวัสดุโลหะ (Hot-dip galvanized, อลูมิเนียม, สแตนเลส) และที่ทำจากวัสดุอโลหะ (Plastic, FRP, ไม้) หากเลือกใช้รางวางสายไฟที่ทำจากวัสดุโลหะ ตามมาตรฐานของ วสท.กำหนดว่าจะต้องมีการต่อกราวน์ที่รางวางสายไฟ และหากเลือกใช้รางวางสายไฟที่ทำจากวัสดุอโลหะ วัสดุนั้นจะต้องเป็นวัสดุที่ต้านเปลวเพลิง
การต่อกราวน์ที่รางวางสายไฟโลหะนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะคือความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน การต่อกราวน์ที่รางวางสายไฟจะต้องกราวน์ต่อเนื่องไปตลอดต่อแนวรางวางสายเพื่อให้ส่วนโลหะต่อถึงกันตลอด มีศักย์ไฟฟ้าเป็นศูนย์ ป้องกันไฟดูด หากสายกราว์นเป็นสนิมและขาดออกจากกัน บริเวณที่ต่อกราว์นไว้ (ซึ่งตลอดแนวรางวางสายไฟนั้นมีหลายสิบจุด และอาจมีได้เป็นร้อยจุด) เมื่อมีกระแสไฟรั่วลงโครงสร้างโลหะ จะเกิดความเสี่ยงต่อผู้ปฎิบัติงานและถูกไฟดูดได้ นับเป็นความเสี่ยงต่อชีวิตของผู้ดูแลรักษาระบบไฟฟ้า
การต่อกราวด์ที่รางวางสายไฟที่ถูกต้องนั้นสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่มาตรฐานวสท.ข้อที่ (4.15.4), (4.22) และ (4.23) หรือ หากต้องการขจัดความเสี่ยงเรื่องไฟรั่วลงที่รางวางสายไฟโลหะ การเลือกใช้รางสายไฟที่มีคุณสมบัติไม่เป็นสนิม, ไม่นำไฟฟ้าและไม่ลามไฟ เช่น รางวางสายไฟเบอร์กลาส นับเป็นหนทางหนึ่งในการเพิ่มความปลอดภัยทางไฟฟ้าให้กับระบบและผู้ใช้งาน